วันอังคารที่ 17 มกราคม พ.ศ. 2555

วันครู

 วันครู


กราบคารวะคุณครู


สิบหกมกราฟ้าไร้หม่น
ขอคุณครูทุกคนจงสุขี
เกริกเกียรติ์ก้องเปี่ยมล้นท้นความดี
อย่าได้มีขุ่นข้องหมองกมล

ที่มีทุกข์จงคลายมลายสิ้น
เป็นอาจิณศีลธรรมน้อมนำผล
มีเมตตาปรานีศิษย์ทุกคน
ส่งศิษย์พ้นวังวนอนธการ

ครูเป็นผู้ชี้ทางสว่างให้
เป็นกำแพงคุ้มภัยทุกถิ่นฐาน
เป็นแม่พระแม่พิมพ์มายาวนาน
ศิษย์จึงผ่านผองภัยได้ด้วยครู

คารวะพระคุณสามงามสง่า
สูงคุณค่าสูงศักดิ์ยอดนักสู้
น้ำใจนั้นเลิศล้ำแสนดำรู
ขอเชิดชูปูชนีย์ศรีบุคคล

ร้อยอักษรกลอนกานท์ผ่านมาไหว้
เป็นมาลัยจากใจที่ท่วมท้น
ด้วยศรัทธาสาธยายหลายถกล
นำศิษย์พ้นโอฆะนทีภัย





ความหมายของครู 

          ครู หมายถึง ผู้อบรมสั่งสอน ผู้ถ่ายทอดความรู้ ผู้สร้างสรรค์ภูมิปัญญา และพัฒนาทรัพยากรมนุษย์เพื่อนำไปสู่ความเจริญรุ่งเรืองของสังคมและประเทศชาติ 

ความสำคัญของครู 

          ในชีวิตของคนเราถือว่า บิดามารดา เป็นผู้มีพระคุณอันสูงสุด เพราะท่านเป็นผู้ให้ชีวิต ให้ความรัก ให้ความเมตตา มีความห่วงใย และเสียสละเพื่อลูก นอกจาก บิดามารดา แล้ว ก็มีครูเป็นผู้มีพระคุณคล้าย บิดามารดา คือ เป็นผู้อบรมสั่งสอนถ่ายทอดวิชาความรู้ให้ รวมทั้งให้ความรัก ความเมตตาต่อศิษย์ทุกคน นับได้ว่าครูเป็นผู้เสียสละที่ไม่แพ้บุพการี 

          ครูจึงนับเป็นปูชนียบุคคลที่มีความสำคัญอย่างมาก ในการให้การศึกษาเรียนรู้ ทั้งในด้านวิชาการ และประสบการณ์ ตลอดเป็นผู้มีความเสียสละ ดูแลเอาใจใส่ สั่งสอนอบรมให้เด็กได้พบกับแสงสว่างแห่งปัญญา อันเป็นหนทางแห่งการประกอบอาชีพเลี้ยงดูตนเอง รวมทั้งนำพาสังคมประเทศชาติ ก้าวไปสู่ความเจริญรุ่งเรือง ฉะนั้นวันที่ 6 ตุลาคม จึงได้เป็นวันครูสากล เพื่อคนที่เป็นครูทั่วโลกที่เสียสละนำพาเราทุก ๆคน ไปถึงฝั่งฝันนั่นเอง 


วันครู

ประวัติความเป็นมา 

          วันครู ได้จัดให้มีขึ้นครั้งแรกเมื่อวันที่ 16 มกราคม พ.ศ.2500 สืบเนื่องมาจากการประกาศพระราชบัญญัติครูในราชกิจจานุเบกษาเมื่อปี พ.ศ.2488 ซึ่งระบุให้มีสภาในกระทรวงศึกษาธิการเรียกว่า คุรุสภา เป็นนิติบุคคลให้ครูทุกคนเป็นสมาชิกคุรุสภา โดยมีหน้าที่ในเรื่องของสถาบันวิชาชีพครูในขณะเดียวกัน ก็ทำหน้าที่ให้ความเห็นเรื่องนโยบายการศึกษา และวิชาการศึกษาทั่วไปแก่กระทรวงศึกษาธิการ ควบคุมจรรยาและวินัยของครู รักษาผลประโยชน์ ส่งเสริมฐานะของครู จัดสวัสดิการให้ครู และครอบครัวได้รับความช่วยเหลือตามสมควร ส่งเสริมความรู้ และความสามัคคีของครู 

          ทุกปีคุรุสภาจะจัดให้มีการประชุมสามัญคุรุสภาประจำปี เพื่อเปิดโอกาสให้ผู้แทนครูทั่วประเทศแถลงผลงานในรอบปีที่ผ่านมา และซักถามปัญหาข้อข้องใจต่างๆ เกี่ยวกับการดำเนินงานของคุรุสภาโดยมีคณะกรรมการอำนวยการคุรุสภา เป็นผู้ตอบข้อสงสัย สถานที่ในการประชุมสมัยนั้นใช้หอประชุมสามัคคยาจารย์ หอประชุมของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และในระยะหลังใช้หอประชุมคุรุสภา 

          พ.ศ.2499 ในที่ประชุมสามัญคุรุสภาประจำปี จอมพล ป.พิบูล สงคราม นายกรัฐมนตรี และประธานกรรมการอำนวยการคุรุสภากิตติศักดิ์ ได้กล่าวคำปราศรัยต่อที่ประชุมครูทั่วประเทศว่า 

          "ที่อยากเสนอในตอนนี้ก็คือว่า เนื่องจากผู้เป็นครูมีบุญคุณเป็นผู้ให้แสงสว่างในชีวิตของเราทั้งหลาย ข้าพเจ้าคิดว่า วันครู ควรมีสักวันหนนึ่งสำหรับให้บรรดาลูกศิษย์ทั้งหลายได้แสดงความเคารพสักการะต่อวันสงกรานต์ เราก็นำเอาอัฐิของผู้มีพระคุณบังเกิดเกล้ามาทำบุญ ทำทาน คนที่สองรองลงไปก็คือครูผู้เสียสละทั้งหลาย ข้าพเจ้าคิดว่าในโอกาสนี้จะขอฝากที่ประชุมไว้ด้วย ลองปรึกษาหารือกันในหลักการ ทุกคนคงจะไม่ขัดข้อง" 

          จากแนวความคิดนี้ กอปรกับความเห็นของครูที่แสดงออกทางสื่อมวลชนและอื่นๆ ที่ล้วนเรียกร้องให้มีวันครูเพื่อให้เป็นวันแห่งการรำลึกถึงความสำคัญของครูในฐานะที่เป็นผู้เสียสละ ประกอบคุณงามความดีเพื่อประโยชน์ของชาติและประชาชนเป็นอันมาก ในปีเดียวกันที่ให้มีวันครูเพี่อเสนอคณะกรรมการอำนวยการต่อไป โดยได้เสนอหลักการว่า เพื่อจะได้ประกอบพิธีระลึกถึงคุณบูรพจารย์ ส่งเสริมความสามัคคีธรรมระหว่างครูและพื่อส่งเสริมความเข้าใจอันดีระหว่างครูกับประชาชน 

          คณะมนตรีได้มีมติเมื่อวันที่ 21 พฤศจิกายน 2499 ให้วันที่ 16 มกราคมของทุกปีเป็น วันครู โดยถือเอาวันที่ประกาศพระราชบัญญัติครูในราชกิจจานุเบกษา เมื่อวันที่ 16 มกราคม พ.ศ.2488 เป็น วันครู และให้กระทรวงศึกษาธิการสั่งการให้นักเรียนและครูหยุดในวันดังกล่าว 

         


คำกล่าวไหว้คร

               (นำ) ปาเจราจริยาโหนติ  คุณุตตรานุสาสกา

     สวดทำนองสรภัญญะ
                  ข้าขอประณตน้อมสักการ(รับพร้อมกัน)            บูรพคณาจารย์ผู้กอรปประโยชน์ศึกษา
                  ทั้งท่านผู้ประสาทวิชา                                  อบรมจริยา
          แก่ข้าในกาลปัจจุบัน
                  ข้าขอเคารพอภิวันท์                                    ระลึกคุณอนันต์
          ด้วยใจนิยมบูชา
                  ขอเดชกตเวทิตา                                         อีกวิริยะพา
          ปัญญาให้เกิดแตกฉาน
                  ศึกษาสำเร็จทุกประการ                                 อายุยืนนาน
          อยู่ในศีลธรรมอันดี
                  ให้ได้เป็นเกียรติเป็นศรี                                  ประโยชน์ทวี
          แก่ชาติและประเทศไทยเทอญ ฯ
               (นำ) ปัญญาวุฒิกเร เต เต ทินโนวาเท นมามิหัง
ความหมาย       ปาเจราจริยา โหนติ คุณุตตรานุสาสกา
       ครูอาจารย์เป็นผู้ทรงคุณอันประเสริฐยิ่ง   เป็นผู้พร่ำสอนศิลปวิทยา
       ปัญญาวุฒิ กเร เตเต ทินโนวาเท นมามิหัง
       ข้าพเจ้าขอนอบน้อมเหล่านั้น ผู้ให้โอวาท ผู้ทำให้ปัญญาเจริญ ข้าพเจ้าขอกราบไหว้ครูอาจารย์เหล่านั้นด้วยความเคารพ
                       
กล้วยไม้มีดอกช้าฉันใด
การศึกษาเป็นไปเช่นนั้น
แต่ดอกออกคราวใดงามเด่น
การศึกษาปลูกปั้นเสร็จแล้ว แสนงาม
  
   มล. ปิ่น มาลากุล

2 ความคิดเห็น: