วันพุธที่ 14 ธันวาคม พ.ศ. 2554

อาเซียน

ความเป็นมาของอาเซียน

อาเซียนหรือสมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (Assciation of Southeast Asian Nations หรือ ASEAN) ก่อตั้งขึ้นโดยปฏิญญากรุงเทพ(The Bangkok Declaration ) เมื่อวันที่ 8 สิงหาคม 2510โดยมีสมาชิกผู้ก่อตั้ง 5 ประเทศในภูมิภาคเอเชียตะวันออก-เฉียงใต้ ได้แก่ ไทย อินโดนีเซีย มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ และสิงคโปร์ ได้ลงนามใน    
            
“ปฏิญญากรุงเทพฯ” (Bangkok Declaration) เพื่อจัดตั้งสมาคมความร่วมมือกันในการเพิ่มอัตราการเจริญเติบโต ทางเศรษฐกิจ การพัฒนาสังคม การพัฒนาวัฒนธรรมในกลุ่มประเทศสมาชิก และการธำรงรักษาสันติภาพและความมั่นคง ในพื้นที่และเป็นการเปิดโอกาสให้คลายข้อพิพาทระหว่างประเทศสมาชิกอย่างสันติของระดับภูมิภาคของประเทศต่างๆ ในเอเชีย ในเวลาต่อมาได้มี บูรไนดารุสซาราม  (เข้าเป็นสมาชิกตั้งแต่ 8 มกราคม 2527)สาธารณรัฐสังคมคมนิยมเวียดนาม (เข้าเป็นสมาชิกตั้งแต่ 28 กรกฎาคม 2538) สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว (เข้าเป็นสมาชิกตั้งแต่ 23 กรกฎาคม 2540) สหภาพพม่า (เข้าเป็นสมาชิกตั้งแต่ 23 กรกฎาคม 2540) ราชอาณาจักรกัมพูชา (เข้าเป็นสมาชิกตั้งแต่ 30 เมษายน 2542) ตามลำดับทำให้อาเซียนมีสมาชิกครบ 10ประเทศ 
  
วัตถุประสงค์หลัก

                           ปฏิญญากรุงเทพฯ ได้ระบุวัตถุประสงค์สำคัญ 7 ประการของการจัดตั้งอาเซียน ได้แก่ 

                        ตลอดระยะเวลา กว่า 40ปีที่มีการก่อตั้งอาเซียน ถือว่าได้ประสบความสำเร็จจนเป็นที่ยอมรับจากหลายฝ่าย ไม่ว่าจะเป็นด้านการเมืองเเละความมั่นคง ด้านเศรษฐกิจและการพัฒนาด้านสังคมและวัฒนธรรม ซึ่งประเทศไทยได้รับ ประโยชน์อย่างมากจากความร่วมือต่างๆของอาเซียน   ไม่ว่าจะเป็นประโยชน์จากการที่ภูมิภาค เป็นเสถียรภาพและสันติภาพ อันเป็นผลจากกรอบความร่วมมือด้านการเมืองและความมั่นคง ความร่วมมือด้านเศรษฐกิจ ความร่วมือด้านสังคมและ วัฒนธรรม ซึ่งถ้าหากไม่มีความร่วมมือเหล่านี้แล้ว คงเป็นการยากที่จะพัฒนาประเทศได้โดยลำพัง  
 
ประเทศสมาชิกอาเซียน

 
ราชอาณาจักรไทย   Thailand 


สาธารณรัฐอินโดนีเซีย (INDONESIA) 

สาธารณรัฐฟิลิปปินส์ (REPUBLIC OF THE PHILIPPINES)
 •   ผลักดันความร่วมมือในด้านการค้า พลังงาน ความมั่นคง
•   ประสบปัญหาเสถียรภาพทางการเมืองและเศรษฐกิจอย่างต่อเนื่อง
•   เป็นพันธมิตรที่ใกล้ชิดของไทยมาเป็นเวลานานและมีมุมมองยุทธศาสตร์ร่วมกันในหลายด้าน

มาเลเซีย (MALAYSIA) 
• มีบทบาทสำคัญในองค์การการประชุมอิสลาม (OIC)
• ต้องการเป็นศูนย์กลางเศรษฐกิจการค้าของ OIC ภายในปี ค.ศ. 2009 โดยใช้ศักยภาพด้านการบริหารธนาคารอิสลาม และอุตสาหกรรมอาหารฮาลาล

สาธารณรัฐสิงคโปร์ (REPUBLIC OF SINGAPORE ) 
• มีความมั่นคงด้านการเมืองภายในทำให้มีความต่อเนื่องของนโยบายในด้านต่าง ๆ และมีนโยบายการทูตเชิงรุก เป็นผู้นำของอาเซียนประเทศหนึ่ง
• เป็นศูนย์กลางธุรกิจด้านการค้าและบริการ โทรคมนาคม การเงินและเทคโนโลยีสารสนเทศ (ธุรกิจที่ไม่ต้องอาศัยพื้นที่หรือทรัพยากรธรรมชาติ) โดยมีการพัฒนา ระบบโครงสร้างพื้นฐานและการโทรคมนาคมที่ทันสมัย

บรูไน ดารุสซาลาม (BRUNEI DARUSSALAM) 
• ตั้งอยู่บนเกาะบอร์เนียว 
• มีน้ำมันดิบและก๊าซธรรมชาติ 
• มีความต้องการนำเข้าสินค้าเกษตรและแรงงาน 
• มีนักท่องเที่ยวที่มีกำลังซื้อสูง และส่งเสริม Medical Tourism 
• เริ่มพิจารณาขยายการค้าการลงทุนในธุรกิจที่หลากหลาย ในภูมิภาคต่าง ๆ เพิ่มมากขึ้น ซึ่งเป็นโอกาสสำหรับไทยในการเพิ่มการค้า การลงทุนกับบรูไน และร่วมกันเข้าไปลงทุนในประเทศที่สามมากขึ้น
ข้อมูลทั่วไป 

สาธารณรัฐสังคมนิยมเวียดนาม 
(THE SOCIALIST REPUBLIC OF VIETNAM) 
• เป็นหุ้นส่วนทางยุทธศาสตร์และมีบทบาทสำคัญด้านความมั่นคงในภูมิภาค
• เป็นตลาดใหม่ในภูมิภาคอินโดจีน การบริโภคในประเทศขยายตัวต่อเนื่องศักยภาพการผลิตสูง แรงงานในประเทศมีคุณภาพ และยังคงมีค่าจ้างแรงงานต่ำ


สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว 
(LAO PEOPLE’S DEMOCRATIC RREPUBLIC) 
• เป็นประเทศเพื่อนบ้านที่มีความใกล้ชิดกับไทยทั้งในเชิงประวัติศาสตร์ ที่ตั้งทางภูมิศาสตร์ เชื้อชาติ ศาสนา ภาษา และวัฒนธรรม มีเขตแดนติดต่อกับไทยทั้งทางบกและทางน้ำ ถึง 1,810 กิโลเมตร พัฒนาการต่าง ๆ ในลาว จึงส่งผลกระทบต่อไทยและการกำหนดนโยบายของไทยต่อภูมิภาคอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้

ราชอาณาจักรกัมพูชา (KINGDOM OF CAMBODIA) 
• มีความสำคัญในเชิงยุทธศาสตร์ต่อไทยในทุกๆ ด้าน เนื่องจากมี พรมแดน ทางบกติดต่อกันยาว 798 กม. และมีพื้นที่ทับซ้อนทางทะเลประมาณ 26,000 ตร.กม. จึงเป็นปัจจัยที่ก่อให้เกิดทั้ง “โอกาส” และ “ปัญหา”

สหภาพพม่า (UNION OF MYANMMAR) 
•     สหภาพพม่ามีทรัพยากรอุดมสมบูรณ์ เป็นแหล่งวัตถุดิบทรัพยากรธรรมชาติ ตลาดการค้า แรงงาน และแหล่งลงทุนที่สำคัญของไทย โดยเฉพาะด้านพลังงาน (ก๊าซและไฟฟ้าพลังน้ำ) และเป็นทางเชื่อมสู่จีนและอินเดีย






วันอังคารที่ 29 พฤศจิกายน พ.ศ. 2554

ป.ปลาตากลม



  


                                        ป.ปลาตากลม
ปลาการ์ตูน(อังกฤษClownfish) เป็นปลาที่อาศัยอยู่ในทะเล มีหลายพันธุ์ จัดอยู่ในกลุ่มเดียวกับพวกปลาสลิดหิน (Pomacentridae) พบอาศัยอยู่ตามแนวปะการังในบริเวณเส้นศูนย์สูตรทั่วโลก อาศัยอยู่กับดอกไม้ทะเล (sea anemone) มีสีสันสวยงาม โดยทั่วไปประกอบด้วยสีส้ม แดง ดำ เหลือง และมีสีขาวพาดกลางลำตัว 1-3 แถบ อย่างไรก็ตาม แม้จะเป็นชนิดเดียวกัน ก็จะมีสีแตกต่างกันเล็กน้อยเสมอ ซึ่งความแตกต่างนี้ทำให้มันจำคู่ได้ นอกจากนั้น แหล่งที่อยู่อาศัยที่แตกต่างกันทำให้เกิดการแปรผันด้วย ปลาการ์ตูนอยู่กันเป็นครอบครัว กินแพลงก์ตอนเป็นอาหาร เป็นปลาที่หวงถิ่นมาก มีเขตที่อยู่ของตนเอง
ปลาการ์ตูนออกลูกเป็นไข่และสามารถเปลี่ยนเพศได้ ปลาการ์ตูนจะเปลี่ยนเพศเมื่อสิ่งแวดล้อมกำหนดบทบาทให้ โดยในระยะแรกเริ่มหลังจากที่ฟักออกจากไข่ยังไม่สามารถกำหนดได้ว่าเป็นเพศใด จนกว่าจะเป็นตัวเต็มวัยจึงจะปรากฏเป็นปลาเพศผู้ และในปลารุ่นเดียวกันที่มีขนาดใหญ่ที่สุดจะต้องเปลี่ยนแปลงเป็นปลาเพศเมีย โดยในสังคมของปลาการ์ตูนกลุ่มหนึ่งๆ จะมีปลาเพศเมียเพียงตัวเดียวเท่านั้น ตัวใหญ่ที่สุดในฝูง สีสันไม่สดใสมากนัก พฤติกรรมก้าวร้าว ส่วนปลาเพศผู้มีขนาดเล็กกว่า สีสันสวยงามกว่า จากปลาเพศผู้ เมื่อมีสิ่งเร้าจากภายนอกและภายในเกิดขึ้นอย่างสมบูรณ์ เทเลนฟาลอน (Telenephalon) จะส่งสัญญาณมาที่ธาลามัส (Thalamus) และไฮโปธาลามัส (Hypothalamus) ส่งคำสั่งไปยังต่อมใต้สมองให้หลั่งฮอร์โมนเฉพาะของเพศผู้ อวัยวะเป้าหมายส่วนที่ จะพัฒนาจนสามารถทำงานได้คืออัณฑะผลิตสเปิร์ม ส่วนตัวที่ใหญ่ ที่สุดจะมีพัฒนาการตรงกันข้าม ไฮโปธาลามัสจะส่งคำสั่งไปยังต่อมใต้สมองให้หลั่งฮอร์โมนเฉพาะของเพศเมีย อวัยวะเป้าหมายคือรังไข่ ผลิตไข่ และถ้าเพศเมียตายไป ปลาการ์ตูนเพศผู้ที่มีขนาดใหญ่ที่สุด แข็งแกร่งที่สุด จะเกิดการเปลี่ยนแปลงเพศทดแทนด้วยกลไกแบบหลังภายใน 4 สัปดาห์ โดยจะเพิ่มขนาดอย่างรวดเร็ว พร้อมสีสันสวยน้อยลง

ปลาการ์ตูนกับดอกไม้ทะเล

ดอกไม้ทะเลที่ปลาการ์ตูนชื่นชอบเป็นสัตว์ชนิดหนึ่ง มันมีเข็มพิษ แต่ไม่เป็นอันตรายกับปลาการ์ตูน เป็นพฤติกรรมที่สัตว์สองชนิดพึ่งพากันอย่างถ้อยทีถ้อยอาศัย ดอกไม้ทะเลมีหนวดยาวมากมายพลิ้วไหวไปตามกระแสน้ำ ส่วนร่างยึดติดกับโขดหินหรือปะการังเอาไว้ หนวดที่เห็นอ่อนนุ่มเป็นอวัยวะสำคัญที่ใช้หาอาหาร บริเวณปลายหนวดเต็มไปด้วยเข็มพิษจำนวนมหาศาล เมื่อมีปลาว่ายหลงผ่านมา ดอกไม้ทะเลจะใช้หนวดพิษทิ่มแทงเหยื่อให้เป็นอัมพาต แล้วใช้หนวดจับเข้าปาก จึงไม่มีปลาอื่นกล้าว่ายเข้าใกล้ดอกไม้ทะเล ยกเว้นเพียงปลาการ์ตูน มันเที่ยวว่ายหากินสาหร่ายเล็กๆ อยู่รอบๆ ครั้นมีศัตรูมารบกวน มันจะรีบว่ายเข้าไปหลบซ่อนอยู่ในกอดอกไม้ทะเล
ซึ่งที่จริงปลาการ์ตูนก็ได้รับพิษเช่นกัน แต่มันรู้จักปรับตัวโดยใช้วิธีว่ายเข้าไปสัมผัสกับดอกไม้ทะเลทีละน้อยๆ แล้วถอยออกมา ทำอยู่จนกระทั่งร่างกายสร้างเมือกขึ้นมาคลุมตัว ช่วยป้องกันเข็มพิษดอกไม้ทะเลได้ในที่สุด สรุปว่าที่ปลาการ์ตูนไม่ตายเพราะพิษของดอกไม้ทะเลเพราะมีเมือกเคลือบทั้งตัว ถ้าเอาเมือกออกปลาการ์ตูนจะถูกพิษของดอกไม้ทะเลตาย

การเพาะพันธุ์

ปัจจุบันได้มีการเพาะพันธุ์ได้ตามศูนย์วิจัยต่าง ฟาร์ม เพื่อจำหน่าย แต่ลูกปลาที่ได้จากการเพาะพันธุ์ไม่สามารถนำไปปล่อยแหล่งที่อยู่ตามธรรมชาติของปลาได้ เพราะว่าปลาไม่สามารถปรับตัวให้เข้ากับธรรมชาติได้ไม่สามารถป้องกันตัวเองจากปลาใหญ่ชนิดต่างๆ จึงต้องไปเป็นเหยื่อกับปลาที่อยู่ตามธรรมชาติ
ปลาการ์ตูนอินเดียน yellow skunk anemonefish, A. akallopisos
ลำตัวมีสีเนื้ออมเหลืองทองอมชมพู มีแถบขาวเล็ก ๆ พาดผ่านบริเวณหลังตั้งแต่ปลายจมูกจนจรดครีบหาง อาศัยในที่ลึกตั้งแต่ 3-25 เมตรขนาด โตที่สุดประมาณ 10-11 เซนติเมตร อาศัยอยู่กับดอกไม้ทะเลชนิดHeteractis magnifica และ Stichodactyla mertensii อยู่รวมกันเป็นครอบครัวใหญ่คล้ายปลาการ์ตูนส้มขาว พบได้บ่อยทางฝั่งอันดามัน ส่วนอ่าวไทยพบที่เกาะโลซิน
ปลาการ์ตูนลายปล้องหางเหลือง sebae anemonefish, A. sebae
ลำตัวมีสีดำ ส่วนหางมีสีเหลือง มีแถบขาว 2 แถบ แถบแรกพาดอยู่บริเวณหลังตา อีกแถบพาดผ่านท้องขึ้นมายังครีบหลังเป็นชนิดที่หายาก พบเฉพาะฝั่งอันดามันในที่ลึกตั้งแต่ 2-25 เมตร ขนาดโตที่สุดประมาณ 14 เซนติเมตร อยู่กับดอกไม้ทะลชนิดที่ฝังทรายได้แก่ Stichodactyia haddoni มีสีน้ำตาลหนวดสั้นมักอยู่กันเป็นคู่กับลูกเล็ก ๆ 3-4 ตัว มีนิสัยดุร้ายกับปลาอื่นที่ไม่ใช่สมาชิกในครอบครัว
ปลาการ์ตูนแดง Spine - cheek anemonefish, Premnas biaculeatus (Bloch, 1790)
ปลาการ์ตูนแก้มหนาม หรือการ์ตูนทอง หรือการ์ตูนแดง เป็นปลาชนิดเดียวกัน (species) ลำตัวมีสีส้มแดง เมื่ออายุมากขึ้นสีจะแดงมากขึ้นจนเป็นสีแดงเข้มอมดำ ลำตัวมีแถบสีขาวพาดขวางลำตัว 3 แถบ บริเวณหลังตา กลางลำตัว และโคนหาง ลักษณะเด่นของปลาชนิดนี้คือมีหนามแหลมบริเวณใต้ตา ขนาดโตเต็มที่ประมาณ 16 ซ.ม. พบได้ตามรอบนอกของแนวปะการัง และส่วนที่เป็นแนวปะการังลาดชัน มักอาศัยอยู่กับดอกไม้ทะเลชนิด Entacmaea quadricolor
ในตลาดซื้อขายปลาสวยงามปลาชนิดนี้ถูกแบ่งเป็น 2 กลุ่ม ตามลักษณะสี คือ
1. ปลาการ์ตูนทอง ลักษณะคล้ายกับที่กล่าวมาแต่แถบสีขาวที่พาดขวางลำตัวเป็นสีขาวอมเหลืองทอง และสีแดงบริเวณลำตัวจะเข้มกว่าปลาการ์ตูนแดง ปลาการ์ตูนทองเป็นปลาที่มีราคาแพงเป็นลำดับต้น ๆ ในกลุ่มปลาการ์ตูน
2. ปลาการ์ตูนแดง คล้ายกับปลาการ์ตูนทองแต่แถบที่สีขาวที่พาดขวางลำตัวจะเป็นสีขาว ปลาการ์ตูนแดงจะซื้อขายกันในราคาที่ถูกกว่าปลาการ์ตูนทองประมาณ 1 เท่าตัว
ปลาการ์ตูนปลาการ์ตูนส้มขาว clown anemonefish, A. ocellaris
ลำตัวมีสีส้มเข้ม มีแถบสีขาว 3 แถบ พาดบริเวณส่วนหัว ลำตัวและบริเวณหาง ขอบของแถบสีขาวเป็นสีดำ ขอบนอกของครีบเป็นสีขาวและขอบในเป็นสีดำ อาศัยในที่ลึก ตั้งแต่ 1-15 เมตร ขนาดตัวโตที่สุดประมาณ 10 เซนติเมตร อาศัยอยู่กับดอกไม้ทะเลชนิด Heteractis magnifica และ Stichodactyla gigantea เป็นต้น ในดอกไม้ทะเลแต่ละกออาจพบปลาการ์ตูนชนิดนี้อยู่ด้วยกัน 6-8 ตัว ปลาการ์ตูนส้มขาวพบได้บ่อยที่สุดในทะเลอันดามัน อ่าวไทยพบได้ที่เกาะโลซิน จังหวัดนราธิวาส อาศัยอยู่เป็นครอบครัวใหญ่
ปลาการ์ตูนอานม้า saddleback anemonefish, A. polymnus
ลำตัวมีสีน้ำตาลอมดำ มีแถบขาว 2 แถบ แถบแรกอยู่ที่หลังตา อีกแถบเริ่มบริเวณกลางลำตัวเป็นแถบโค้งพาดเฉียงขึ้นไปที่ครีบหลัง ลักษณะคล้ายอานม้า พบในที่ลึก ตั้งแต่ 2-30 เมตร ขนาดโตที่สุดประมาณ 12 เซนติเมตร อยู่กับดอกไม้ทะเลชนิดที่ฝังตัวอยู่ตามพื้นทราย คือ Heteractis crispa และ Stichodactyla haddoni พบเฉพาะในอ่าวไทย
ปลาการ์ตูนมะเขือเทศ tomato anemonefish, A. frenatus, Brevoort, 1856
ปลาเต็มวัยลำตัวมีสีดำอมแดง ครีบทุกครีบมีสีแดง มีแถบสีขาว 1 แถบ พาดขวางบริเวณหลังตา ปลาการ์ตูนปลาขนาดเล็กจะมีลำตัวและครีบเป็นสีแดง มีแถบขาวพาดขวางลำตัว 3 แถบ บริเวณหลังตา ตอนกลางของลำตัว และโคนหาง ในปลาวัยรุ่นแถบสีขาวที่โคนหางจะหายไปขนาดโตเต็มวัยประมาณ 12 เซนติเมตร อาศัยอยู่ตามลากูน หรือรอบนอกของแนวปะการัง มักอาศัยอยู่กับดอกไม้ทะเลชนิด Entacmaea quadricolor เคยมีรายงานว่าพบได้ในประเทศไทย (Allen, 2000) แต่ปัจจุบันไม่มีใครพบอีก (ธรณ์,2544) ปลาที่ซื้อขายในตลาดประเทศไทยเป็นปลาที่นำเข้ามาจากประเทศอินโดนีเซีย
ปลาการ์ตูนดำแดง red saddleback anemonefish, A. frenatus, Brevoort, 1856
ปลาเต็มวัยลำตัวมีสีส้มแดงและมีปื้นสีดำขนาดใหญ่บริเวณหลัง ส่วนปลาวัยรุ่นจะยังไม่มีปื้นสีดำ และจะมีแถบสีขาวพาดขวางลำตัวบริเวณหลังตา ขนาดโตเต็มที่ประมาณ 12 เซนติเมตร อาศัยตามแนวปะการังชายฝั่งที่เป็นพื้นทราย หรือตามส่วนลาดชันของแนวปะการัง มักอาศัยอยู่กับดอกไม้ทะเลชนิด Entacmaea quadricolor หรือ Heteractis crispa พบทางฝั่งทะเลอันดามัน
ปลาการ์ตูนลายปล้อง clark's anemonefish, A. clarkii
ลำตัวมีสีดำเข้ม ส่วนหน้าครีบอกและหางมีสีเหลืองทอง มีแถบขาว 3 แถบ ตรงส่วนหัว ลำตัว และโคนหาง ปลาชนิดนี้มีความผันแปรของสีสูง มีไม่ตำกว่า 8 รูปแบบ สีของลูกปลาวัยรุ่นก็ต่างจากปลาเต็มวัย พบทั้งอ่าวไทย และอันดามัน จัดเป็นปลาการ์ตูนใหญ่ที่สุดของเมืองไทยขนาดโตที่สุดประมาณ 15 เซนติเมตร อาศัยอยู่ร่วมกับดอกไม้ทะเลหลายชนิด บางครั้งเป็นชนิดที่พบตามพื้นทราย ปลาการ์ตูนลายปล้องมีการแพร่กระจายกว้างมากอาจอยู่รวมกันเป็นกลุ่ม 3-4 ตัว โดยมีตัวเมีย ซึ่งมีขนาดโตที่สุด เป็นจ่าฝูง ตัวที่มีขนาดรองลงมาจะเป็นตัวผู้
ปลาการ์ตูนอินเดียน yellow skunk anemonefish, A. akallopisos
ลำตัวมีสีเนื้ออมเหลืองทองอมชมพู มีแถบขาวเล็ก ๆ พาดผ่านบริเวณหลังตั้งแต่ปลายจมูกจนจรดครีบหาง อาศัยในที่ลึกตั้งแต่ 3-25 เมตรขนาดโตที่สุดประมาณ 10-11 เซนติเมตร อาศัยอยู่กับดอกไม้ทะเลชนิด Heteractis magnifica และ Stichodactyla mertensii อยู่รวมกันเป็นครอบครัวใหญ่คล้ายปลาการ์ตูนส้มขาว พบได้บ่อยทางฝั่งอันดามัน ส่วนอ่าวไทยพบที่เกาะโลซิน