วันพุธที่ 14 ธันวาคม พ.ศ. 2554

อาเซียน

ความเป็นมาของอาเซียน

อาเซียนหรือสมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (Assciation of Southeast Asian Nations หรือ ASEAN) ก่อตั้งขึ้นโดยปฏิญญากรุงเทพ(The Bangkok Declaration ) เมื่อวันที่ 8 สิงหาคม 2510โดยมีสมาชิกผู้ก่อตั้ง 5 ประเทศในภูมิภาคเอเชียตะวันออก-เฉียงใต้ ได้แก่ ไทย อินโดนีเซีย มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ และสิงคโปร์ ได้ลงนามใน    
            
“ปฏิญญากรุงเทพฯ” (Bangkok Declaration) เพื่อจัดตั้งสมาคมความร่วมมือกันในการเพิ่มอัตราการเจริญเติบโต ทางเศรษฐกิจ การพัฒนาสังคม การพัฒนาวัฒนธรรมในกลุ่มประเทศสมาชิก และการธำรงรักษาสันติภาพและความมั่นคง ในพื้นที่และเป็นการเปิดโอกาสให้คลายข้อพิพาทระหว่างประเทศสมาชิกอย่างสันติของระดับภูมิภาคของประเทศต่างๆ ในเอเชีย ในเวลาต่อมาได้มี บูรไนดารุสซาราม  (เข้าเป็นสมาชิกตั้งแต่ 8 มกราคม 2527)สาธารณรัฐสังคมคมนิยมเวียดนาม (เข้าเป็นสมาชิกตั้งแต่ 28 กรกฎาคม 2538) สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว (เข้าเป็นสมาชิกตั้งแต่ 23 กรกฎาคม 2540) สหภาพพม่า (เข้าเป็นสมาชิกตั้งแต่ 23 กรกฎาคม 2540) ราชอาณาจักรกัมพูชา (เข้าเป็นสมาชิกตั้งแต่ 30 เมษายน 2542) ตามลำดับทำให้อาเซียนมีสมาชิกครบ 10ประเทศ 
  
วัตถุประสงค์หลัก

                           ปฏิญญากรุงเทพฯ ได้ระบุวัตถุประสงค์สำคัญ 7 ประการของการจัดตั้งอาเซียน ได้แก่ 

                        ตลอดระยะเวลา กว่า 40ปีที่มีการก่อตั้งอาเซียน ถือว่าได้ประสบความสำเร็จจนเป็นที่ยอมรับจากหลายฝ่าย ไม่ว่าจะเป็นด้านการเมืองเเละความมั่นคง ด้านเศรษฐกิจและการพัฒนาด้านสังคมและวัฒนธรรม ซึ่งประเทศไทยได้รับ ประโยชน์อย่างมากจากความร่วมือต่างๆของอาเซียน   ไม่ว่าจะเป็นประโยชน์จากการที่ภูมิภาค เป็นเสถียรภาพและสันติภาพ อันเป็นผลจากกรอบความร่วมมือด้านการเมืองและความมั่นคง ความร่วมมือด้านเศรษฐกิจ ความร่วมือด้านสังคมและ วัฒนธรรม ซึ่งถ้าหากไม่มีความร่วมมือเหล่านี้แล้ว คงเป็นการยากที่จะพัฒนาประเทศได้โดยลำพัง  
 
ประเทศสมาชิกอาเซียน

 
ราชอาณาจักรไทย   Thailand 


สาธารณรัฐอินโดนีเซีย (INDONESIA) 

สาธารณรัฐฟิลิปปินส์ (REPUBLIC OF THE PHILIPPINES)
 •   ผลักดันความร่วมมือในด้านการค้า พลังงาน ความมั่นคง
•   ประสบปัญหาเสถียรภาพทางการเมืองและเศรษฐกิจอย่างต่อเนื่อง
•   เป็นพันธมิตรที่ใกล้ชิดของไทยมาเป็นเวลานานและมีมุมมองยุทธศาสตร์ร่วมกันในหลายด้าน

มาเลเซีย (MALAYSIA) 
• มีบทบาทสำคัญในองค์การการประชุมอิสลาม (OIC)
• ต้องการเป็นศูนย์กลางเศรษฐกิจการค้าของ OIC ภายในปี ค.ศ. 2009 โดยใช้ศักยภาพด้านการบริหารธนาคารอิสลาม และอุตสาหกรรมอาหารฮาลาล

สาธารณรัฐสิงคโปร์ (REPUBLIC OF SINGAPORE ) 
• มีความมั่นคงด้านการเมืองภายในทำให้มีความต่อเนื่องของนโยบายในด้านต่าง ๆ และมีนโยบายการทูตเชิงรุก เป็นผู้นำของอาเซียนประเทศหนึ่ง
• เป็นศูนย์กลางธุรกิจด้านการค้าและบริการ โทรคมนาคม การเงินและเทคโนโลยีสารสนเทศ (ธุรกิจที่ไม่ต้องอาศัยพื้นที่หรือทรัพยากรธรรมชาติ) โดยมีการพัฒนา ระบบโครงสร้างพื้นฐานและการโทรคมนาคมที่ทันสมัย

บรูไน ดารุสซาลาม (BRUNEI DARUSSALAM) 
• ตั้งอยู่บนเกาะบอร์เนียว 
• มีน้ำมันดิบและก๊าซธรรมชาติ 
• มีความต้องการนำเข้าสินค้าเกษตรและแรงงาน 
• มีนักท่องเที่ยวที่มีกำลังซื้อสูง และส่งเสริม Medical Tourism 
• เริ่มพิจารณาขยายการค้าการลงทุนในธุรกิจที่หลากหลาย ในภูมิภาคต่าง ๆ เพิ่มมากขึ้น ซึ่งเป็นโอกาสสำหรับไทยในการเพิ่มการค้า การลงทุนกับบรูไน และร่วมกันเข้าไปลงทุนในประเทศที่สามมากขึ้น
ข้อมูลทั่วไป 

สาธารณรัฐสังคมนิยมเวียดนาม 
(THE SOCIALIST REPUBLIC OF VIETNAM) 
• เป็นหุ้นส่วนทางยุทธศาสตร์และมีบทบาทสำคัญด้านความมั่นคงในภูมิภาค
• เป็นตลาดใหม่ในภูมิภาคอินโดจีน การบริโภคในประเทศขยายตัวต่อเนื่องศักยภาพการผลิตสูง แรงงานในประเทศมีคุณภาพ และยังคงมีค่าจ้างแรงงานต่ำ


สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว 
(LAO PEOPLE’S DEMOCRATIC RREPUBLIC) 
• เป็นประเทศเพื่อนบ้านที่มีความใกล้ชิดกับไทยทั้งในเชิงประวัติศาสตร์ ที่ตั้งทางภูมิศาสตร์ เชื้อชาติ ศาสนา ภาษา และวัฒนธรรม มีเขตแดนติดต่อกับไทยทั้งทางบกและทางน้ำ ถึง 1,810 กิโลเมตร พัฒนาการต่าง ๆ ในลาว จึงส่งผลกระทบต่อไทยและการกำหนดนโยบายของไทยต่อภูมิภาคอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้

ราชอาณาจักรกัมพูชา (KINGDOM OF CAMBODIA) 
• มีความสำคัญในเชิงยุทธศาสตร์ต่อไทยในทุกๆ ด้าน เนื่องจากมี พรมแดน ทางบกติดต่อกันยาว 798 กม. และมีพื้นที่ทับซ้อนทางทะเลประมาณ 26,000 ตร.กม. จึงเป็นปัจจัยที่ก่อให้เกิดทั้ง “โอกาส” และ “ปัญหา”

สหภาพพม่า (UNION OF MYANMMAR) 
•     สหภาพพม่ามีทรัพยากรอุดมสมบูรณ์ เป็นแหล่งวัตถุดิบทรัพยากรธรรมชาติ ตลาดการค้า แรงงาน และแหล่งลงทุนที่สำคัญของไทย โดยเฉพาะด้านพลังงาน (ก๊าซและไฟฟ้าพลังน้ำ) และเป็นทางเชื่อมสู่จีนและอินเดีย






1 ความคิดเห็น: